Skip to main content

การแต่งงานแบบคาทอลิก (ตามหลักกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก)

การแต่งงานคาทอลิก, บทความ, กฎหมายพระศาสนจักร

 

03

 

บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน ในฐานะผู้ให้การอบรมและเตรียมตัวผู้สมรสกว่า 6 ปีที่วัดพระมหาไถ่ กรุงเทพฯไม่ว่าเป็นกรณีการแต่งงานระหว่างคาทอลิกด้วยกัน หรือในกรณีต่างฝ่ายต่างถือศาสนา อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่จะแต่งงานแบบคาทอลิก ต้องผ่าน 5 ขั้นตอน (5 Steps) ตามลำดับดังนี้...

 

 

Step 1: อบรมคู่สมรส (เพื่อจะได้รับใบประกาศ)

โดยทั่วไป คู่บ่าว-สาวไปจะต้องเข้าร่วมอบรมด้านคำสอนในเรื่อง "ความหมายการแต่งงานตามกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก" ซึ่งเป็นขั้นแรกสุดเพื่อการเตรียมตัวสู่พิธีจารีตแต่งงานแบบคาทอลิก

และโดยทั่วไป เป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสของวัดนั่นๆ ที่คู่บ่าว-สาวมีความประสงค์จะใช้เพื่อประกอบพิธี จะเป็นผู้ให้การอบรมตามหัวข้อดังนี้ 

        (1)  คำสอนเรื่องการแต่งงานตามความหมายของคาทอลิก
        (2)  คุณธรรมในชีวิตคู่ ชีวิตครอบครัวและความรักคำสอนของคริสตชน
               ฯลฯ

อย่างไรก็ตามบางสังฆมณฑล อาทิเช่นอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จะมีการเปิดอบรมรวมกันที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คู่บ่าว-สาวในเขตกรุงเทพฯ 

 

 สำหรับความหมายการแต่งงานแบบคาทอลิกตามกฏหมายของพระศาสนจักรมีดังนี้...

 

 

กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 1055

วรรค 1
พันธสัญญาการแต่งงาน คือ พันธสัญญา ที่ชายและหญิง นำชีวิตทั้งครบของตน มาหลอมเข้าเป็นชีวิตหนึ่งเดียว ธรรมชาติของพันธสัญญานี้มุ่งสู่ ความดีของคู่ชีวิต และการให้กำเนิดบุตรหลาน รวมทั้งให้การศึกษาอบรม การแต่งงานระหว่างผู้ได้รับศีลล้างบาป ได้รับการยกขึ้นจากพระคริสตเจ้า ให้มีศักดิ์ศรีเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์.

วรรค 2
เพราะเหตุนี้ สัญญาการแต่งงานระหว่างผู้ได้รับศีลล้างบาป ไม่สามารถมีผลทางกฎหมาย โดยไม่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ในเวลาเดียวกัน

 

 

กฏหมายมาตรา 1055 มีคีย์เวิร์ดอยู่ที่  

(1) การแต่งงานเป็น "พันธสัญญา" ที่ชายและหญิงพึ่งกระทำต่อกัน พันธสัญญา ต่างกับ สัญญา ตรงที่ สัญญาสามารถยกเลิกได้ ตามกฎของสังคมและชุมชน  แต่พันธสัญญาซึ่งชายและหญิงได้กระทำต่อกันต่อหน้าพระเจ้า จะลบล้างไม่ได้ ดังนั้นคำสอนแรกที่คู่บ่าว-สาวต้องเรียนรู้คือ สำหรับคาทอลิกแล้ว จะไม่มีการหย่าหลังจากที่ได้แต่งงานอย่างถูกต้องแล้ว (แต่หากชีวิตคู่มีปัญหาจริงๆ อาจจะมีการขอดำเนินการเพื่อ "ประกาศการแต่งงานว่าเป็นโมฆะ")

 

 

(2) การแต่งงานเพื่อ "ความดีของกันและกัน"
      นิยามของความดีของคู่สมรส อาจจะหมายถึงความสุขและสวัสดิภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความเชื่อ ดังนั้นคู่บ่าว-สาว ต้องพิจารณาและตั้งใจว่า จะดูแลกันและกัน รักษาความสุขและสวัสดิภาพแก่กันและกัน

(3) การแต่งงานเพื่อ "การมีบุตร" และ ทำตามหน้าที่ความรับผิดชอบของบิดา-มารดาคือ "ให้การศึกษาแก่บุตรของตน" 
     การให้การศึกษานี้ ไม่ได้หมายถึงการให้ทางศึกษาโดยทั่วไป แต่รวมไปถึงการดูแลการเจริญเติบโต ให้การอบรม และรักษาความเชื่อในศาสนาด้วยเช่นกัน 
    

 

 

กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 1056

ลักษณะเฉพาะที่เป็นแก่นแท้ของการแต่งงาน คือ ความเป็นหนึ่งเดียว (เอกภาพ unity)
และ การแยกจากกันมิได้ (indissolubility) การแต่งงานของคริสตชนมีความมั่นคงพิเศษ โดยเหตุผลของการเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

 

 

(1) เอกภาพ (unity) มีความหมายตามคำสอนของคาทอลิกดังนี้

     (1.1)   เอกภาพคือ "ความซื่อสัตย์" (fidelity)  เขาทั้งสองต้องรักเดียวใจเดียว ดังคำกล่าวของคู่บ่าว-สาวเวลาแลกเปลี่ยนแหวนที่ว่า "จงรับแหวนวงนี้เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความรักและความซื่อสัตย์ของ ผม/ดิฉัน"

    (1.2)  เอกภาพคือ "ความสัมพันธ์ตามชีวิตคู่" (both physical and spiritual relationship) ดังจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส บทที่ 5 ข้อ 31 ที่ว่า “เพราะเหตุนี้เอง ผู้ชายจะละบิดามารดาไปผูกพันอยู่กับภรรยา และเขาทั้งสองจะเป็นเนื้อเดียวกัน”
         ความสัมพันธ์ทางร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตคู่ นักบุญยอหน์ปอลที่ 2 กล่าวในเทววิทยาทางร่างกายไว้ว่า  "ในความสัมพันธ์ทางร่างกายในการแต่งงาน เป็นความสามารถที่จะแสดงความรักต่อกันและกัน ซึ่งบุคคลเป็นของขวัญให้แก่กัน ทำให้การมีอยู่เพื่อกันและกันอย่างมีความหมายและมีคุณค่า" 
         ชายและหญิงอนุญาตให้ใช้ร่างกายของกันและกันเพื่อความสุข และเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยา ชีวิตครอบครัวและชีวิตคู่จึงเป็นสถานะที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่พระเป็นเจ้าทรงอวยพร 
       ด้วยเหตุนี้ หากชายและหญิงขาดความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่กล่าวมาในข้างต้น ให้ถือว่าเป็นข้อขัดขวางที่พระศาสนจักรไม่อนุญาตให้ทำพิธีแต่งงานตามแบบคาทอลิกได้ (ดูข้อขัดขวาง "ภาวะที่ไม่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ได้") 

(2)  การแยกจากกันมิได้ คือ หย่าร้างไม่ได้นั่นเอง

 

 


กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 1057

วรรค 1
การแต่งงานเกิดขึ้นจากการยินยอมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งแสดงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ระหว่างบุคคลที่สามารถแต่งงานได้ตามกฎหมาย การยินยอมนี้ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยอำนาจของมนุษย์ใดๆ

วรรค 2
การยินยอมของการแต่งงาน คือ กิจการของอำเภอใจ ซึ่งชายและหญิงมอบและรับตนเองแก่กันและกัน เพื่อทำให้เกิดการแต่งงานด้วยพันธสัญญาอันเรียกคืนไม่ได้

 

 

 

60 สรุปคำสอนเรื่องความหมายของการแต่งงาน
และ คำสาบานของคู่บ่าว-สาวในพิธี

  

 

 

Step 2:  ผ่านการสัมภาษณ์

คำถามที่ต้องเตรียมตัวตอบกับบาทหลวงหรือเจ้าหน้าที่โบสถ์

 

2.1 ความสมัครใจ

       ในการสัมภาษณ์บาทหลวงหรือเจ้าหน้าที่ของโบสถ์จะถามความสมัครใจดังเช่น ในการแต่งานครั้งนี้ ไม่มีใครบังคับและเป็นด้วยความสมัครใจใช่หรือไม่? และไม่มีใครบังคับอีกฝ่ายหรือไม่?

       ด้านล่างเป็นตัวอย่างของคำถาม ซึ่งเป็นคำถามด้านคำสอนตามกฎหมายพระศาสนจักรดังที่ได้บรรยายไว้ในข้างต้น ซึ่งบางทีผู้ถามอาจจะให้คู่บ่าว-สาว อธิบายความหมายของ "เอกภาพ" และ "การหย่าร้างไม่ได้" กว่ามีความหมายอย่างไร และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามคำสอนและความหมายของการแต่งงานดังกล่าวหรือไม่?

 

 

 

ส่วนในข้อที่ 22-27 (ด้านล่าง) จะเป็นคำถามเรื่องความสมัครที่ต้องการ "การยืนยัน" ของคู่บ่าว-สาว อีกครั้งหนึ่ง...

 

 

2.2 คำถามเรื่องคุณสมบัติ และข้อขัดขวางต่างๆ 

 


กฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก มาตรา 1058

ทุกคนซึ่งกฎหมายไม่ห้าม สามารถทำสัญญาแต่งงานได้ (ข้อขัดขวางต่างๆ- impediments)

 

 

    ในทางกฎหมายพระศาสนจักรแล้ว ผู้ที่จะสามารถทำพันธสัญญาต้องมีคุณสมบัติ และไม่มี "ข้อขัดขวางต่างๆ"  คุณสมบัติอาทิเช่น ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเป็นคาทอลิก อายุถึงเกณฑ์แล้ว เป็นโสดและไม่เคยแต่งงานมาก่อน ฯลฯ ในส่วนข้อขัดขวางตามกฎหมายของพระศาสนจักร บาทหลวง(หรือเจ้าหน้าที่โบสถ์) ถามคำถามเรื่อง "ข้อขัดขวาง" ดังนี้...

(1) อายุไม่ถึงเกณฑ์ 

(2) ภาวะที่ไม่อาจจะมีเพศสัมพันธ์ได้ (ขัดต่อคำสอนเรื่อง "เอกภาพ" ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคู่สมรส)

(3) เคยแต่งงานมาก่อน (นอกจากจะได้รับการประกาศจากพระศาสนจักรว่าเป็น “โมฆะ” แล้ว >"อ่านบทความ การแต่งงานเป็นโมฆะ") หรือได้รับ อภิสิทธิ์นักบุญเปาโล หรือ อภิสิทธิ์นักบุญเปโตร (โดยสันตะสำนัก)

(4) การแต่งงานกับผู้ที่ไม่ใช่คาทอลิก

     (4.1) Mixed marriage:  คาทอลิก แต่งกับ คริสตชนนิกายอื่นๆ

     (4.2) Disparity of cult:   คาทอลิก แต่งกับ ผู้ที่ไม่ใช่คริสตชน 

 อย่างไรก็ตาม ข้อขัดขวางทั้งข้อ 4.1 – 4.2 สามารขออนุญาตได้จากพระศาสนจักร โดยมีการทำสัญญาดังนี้
  • คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิก ไม่กระทำตนเป็นอุปสรรคต่อความเชื่อของคู่สมรสฝ่ายคาทอลิก
  • ทั้งสองตกลงกันว่า จะให้บุตร-ธิดาที่เกิดมาได้รับความเชื่อและการอบรมสั่งสอนตามแบบคาทอลิก

 

 

      (5) ฝ่ายชายได้รับศีลบรรพชา (เป็นบาทหลวงคาทอลิก) มาก่อน

(6) คู่สมรสเคยปฏิญาณตัวถาวรในชีวิตนักบวช  

(7)  กรณีการลักพาตัว

(8)  กรณีการก่ออาชญากรรม 

(9) เป็นญาติกันทางสายเลือด โดยตรง หรือ ขั้นที่ 3 (Collateral line up to 3rd degree)

(10) เคยจดทะเบียนสมรสกับผู้อื่นมาแล้ว ทางกฎหมาย

(11) เป็นพ่อ-แม่ทูนหัวกัน  และ

(12) เป็นพ่อ-แม่อุปภัมภ์กันทางกฎหมายบ้านเมือง

     ข้อขัดขวางบางอย่างสามารถอนุโลม หรือขอเอกสารยกเว้นของขัดขวาง (dispensation) จากพระศาสนจักรได้ อาทิเช่น ข้อที่ 4 การแต่งงานต่างฝ่ายต่างถือ หรือ ข้อที่ 9 เป็นญาติในขั้นที่ 3 

     ข้อขัดขวางบางประการ ถือเป็นเด็ดขาด และไม่สามารถยกเว้นได้ อาทิเช่น การแต่งงานระหว่างญาติสายตรง คู่บ่าว-สาวเป็นผู้เยาว์ ฯลฯ

 

 

Step 3: รวบรวม และ ดำเนินเอกสาร

        เป็นหน้าที่ขอบาทหลวงอธิการของโบสถ์ที่ต้องดำเนินเอกสารที่จำเป็นสำหรับคู่บ่าว-สาว ที่มีความประสงค์จะแต่งงานในโบสถ์นั่นๆ ในกรณี A . บ่าว-สาวเป็นคาทอลิกทั้งคู่ ไม่จำเป็นต้องส่งเอกสารไปส่วนกลางของพระศาสนจักรท้องถิ่น (สำนักมิสซังฯ)  แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เคสการแต่งงานจะเป็นแบบ B. การแต่งงานระหว่างคาทอลิกและต่างศาสนา เราต้องเตรียมเอกสารเพื่อส่งไปสำนักมิสซา เพื่อขอเอกสารอนุญาตให้แต่งงานแบบต่างคนต่างถือในโบสถ์ได้ 

         สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียม ทางผู้เขียนได้ทำ Checklist เอกสารต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

เคส A. กรณีเจ้าบ่าว-สาว เป็นคาทอลิกทั้งคู่

 โดยเบื้องต้น ถ้าเจ้าบ่าว-สาว เป็นคาทอลิกทั้งคู่ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องของเอกสารและการขออนุญาต เพราะเราต้องการเอกสารเบื้องต้น ดังนี้... 

 

 ใบสัมภาษณ์คู่สมรส (โดยเจ้าวัดหรือผู้แทน) 

87 ใบรับรองการผ่านการอบรมคู่สมรส

87 เอกสารใบรับรองศีลล้างบาป   ออกให้โดยวัดที่ฝ่ายคาทอลิกรับศีลล้างบาป โดยระบุว่าเคยรับศีลกำลังแล้ว และทางวัดออกเอกสารให้เพื่อใช้ในการสมรส  โดยทางวัดออกเอกสารให้ไม่เกิน 6 เดือน

  

 

เคส B. กรณี คาทอลิก กับ ไม่ใช่คาทอลิก   

การแต่งงานกับคนต่างศาสนาถือว่าเป็น "ข้อขัดขวาง" ตามกฎพระศาสนจักรคาทอลิก อย่างไรก็ตามข้อขัดขวางนี้สามารถขออนุญาตได้ โดยทางสำนักงานศาลพระศาสนจักรท้องถิ่น เอกสารนี้เรียกว่า "ใบอนุญาตยกเว้นข้อขัดขวาง (Dispensation) โดยทางเจ้าวัดหรือเจ้าหน้าที่ของโบสถ์ ต้องเตรียมเอกสารดังนี้...

 

   87ใบสัมภาษณ์คู่สมรส  (โดยเจ้าวัดหรือผู้แทน)

  87 ใบรับรองการผ่านการอบรมคู่สมรส

 


สำหรับฝ่ายคาทอลิก

 

87 เอกสารใบรับรองศีลล้างบาป   ออกให้โดยวัดที่ฝ่ายคาทอลิกรับศีลล้างบาป โดยระบุว่าเคยรับศีลกำลังแล้ว และทางวัดออกเอกสารให้เพื่อใช้ในการสมรส  โดยทางวัดออกเอกสารให้ไม่เกิน 6 เดือน

87 คำสัญญาของฝ่ายคาทอลิก ว่าจะไม่ละทิ้งความเชื่อ  และเซ็นต์ยอมรับของอีกฝ่ายหนึ่ง

 

 

สำหรับฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิก

 

87 เอกสารยืนยันว่ายังไม่เคยแต่งงานมาก่อน (Affidavit) เซ็นต์โดยญาติ

87 สำเนาใบประชาชน  (ขอผู้ที่เซ็นต์รับรอง)

 

 

 ทางสังฆมณฑลอาจขอเอกสารอื่นๆ ซึ่งคู่บ่าว-สาว ต้องเตรียมเผื่อไว อาทิเช่น รูปถ่าย หรือ สำเนาบัตรประชาชนของตน

 

Checklist อื่นๆเพื่อเตรียมตัวในวันพิธีแต่งงาน

 

 

87 (พ่อแม่) พยานสองคน (ต้องแจ้งรายชื่อ ตั้งแต่วันสัมภาษณ์)
87 ดอกไม้ 
87 บทอ่านที่เลือก
87 ผู้อ่านบทอ่าน   
87 นักขับร้องในโบสถ์
87 แหวนแต่งงาน      
87 จองวันซ้อมพิธีฯ      
87 หนังสือพิธี
87 ขบวนแห่: ผู้ถือเทียน(2)  ผู้ถือดอกไม้(1)  ผู้ถือแหวน(1)  เพื่อนเจ้าบ่าว  เพื่อนเจ้าสาว ฯลฯ
87 ซองทำบุญให้พระสงฆ์     
87 ช่างภาพ 
87 อื่นๆ..........

 

  

 โดยปกติ ทางวัดจะเป็นผู้จัดเตรียมนักขับร้อง และเซ็ตดอกไม้ประดับวัด หรือมีผู้อ่านบทอ่าน และผู้ช่วยพิธีกรรม อย่างไรก็ตามทางบ่าว-สาว ควรติดต่อทางโบสถ์และเจ้าอาวาสวัดแต่เนิ่นๆ Checklist ดังกล่าวช่วยให้คู่บ่าว-สาว เห็นภาพรวมในการเตรียมตัวก่อนวันแต่งงาน 

 

 

32Step 4: นัดซ้อมพิธีแต่งงานกับทางวัด

โดยปกติบาทหลวงผู้ประกอบพิธีจะนัดเฉพาะคู่บาว-สาวมาซ้อมกันก่อนวันแต่งงาน ส่วนผู้ร่วมขบวนคนอื่นๆ อาจจะนัดซ้อมกันที่หน้างาน ในวันประกอบพิธีกรรม

 

32Step 5: เข้าพิธีสมรส

ในวันสมรสคู่บ่าว-สาวอาจจะมีความวุ่นวายใจ ตื่นเต้น กังวลใจอยู่บ้าง แต่ในที่สุดพิธีกรรมทางศาสนาคือสิ่งที่สำคัญที่สุด จะมีสิ่งใดมีค่าไปมากกว่าพระพรขององค์พระเจ้า ที่จะทรงประทานให้แก่เราในวันแต่งงาน เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะสมบูรณ์แบบไปทุกๆอย่าง ในวันงานอาจจะมีข้อผิดพลาด ผิดคิว ก็ขอให้มองข้ามไป แต่ให้โฟกัสอยู่ที่พิธีกรรม ด้วยความสำรวมใจ รำพึงตามบทเทศน์สอนของพระสงฆ์ และตั้งใจในการกล่าวคำปฎิญาณด้วยความจริงใจอย่างแท้จริง

 



>>>  ดาวน์โหลด หนังสือพิธีกรรมแต่งงานแบบคาทอลิก "รักในพระคริสต์" 

>>>  Download Liturgical Booklet of Eucharistic Celebration and Holy Matrimony in Roman Catholic Rite 

>>> ดาวน์โหลดบทความ "การแต่งงานแบบคาทอลิก" (5 ขั้นตอนที่ต้องผ่าน) 


 

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


การแต่งงานแบบคาทอลิก (ตามหลักกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิก)

บทความที่เกี่ยวข้อง

MOD_TAGS_SIMILAR_NO_MATCHING_TAGS