Skip to main content

วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

book

บทที่ 11 การปกป้องโรงเรียนคาทอลิก ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศอเมริกา

The Third Plenary Council of Baltimore, 1884, a national meeting of Roman Catholic bishops in Baltimore, Maryland, presided over by Archbishop James Gibbons (back row, center, labeled 1). Engraving, American, 1884

โรงเรียนคาทอลิกเป็นการแพร่ธรรมของพระศาสนจักร เป็นหัวข้อที่ได้รับการถกเถียงกันมาโดยเฉพาะในระหว่างสภาพระสังฆราชแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดยหลักการแบ่งแยกระหว่างรัฐกับพระศาสนจักรอย่างชัดเจน ตามหลักกาลปกครองรัฐ พระศาสนจักรที่อเมริกาทำงานอยู่ในบรรยกาศของการต่อต้านพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดทางรัฐฝั่งประเทศยุโรป แต่พระศาสนจักรที่อเมริกายังคงทำงานกับผู้อพยพชาวไอริชและชนกลุ่มน้อยต่างๆ ในศตวรรษที่ 19 นี้การสร้างโรงเรียนคาทอลิกจึงมีความจำเป็นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการอภิบาลและแพร่ธรรมต่อศัทธาชน

เราจึงทำความเข้าใจได้ไม่ยากว่า ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 นี้พระศาสนจักรที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องความเชื่อและคำสอนทางศีลธรรมสำหรับศาสนิกชน ในปี ค.ศ. 1829 มีการตั้งสังฆมณฑลบัลติมอล ให้เป็นสังฆมณฑลหลัก (metropolitan) และสภาพระสังฆราชได้ถูกตั้งขึ้นใหม่ บรรดาผู้ปกครองพระศาสนจักรจึงต้องใส่ใจต่อวิกฤตกาลการต่อต้านศาสนา โดยเน้นเรื่องการศึกษาคาทอลิกให้เป็นรูปธรรมว่า “จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่เราต้องตั้งโรงเรียนคาทอลิกขึ้นมา เพื่อเราจะได้สอนบรรดายุวชนหลักการความเชื่อและศีลธรรม” ในช่วงนี้เองได้มีการจัดพิมพ์หนังสือต่างๆอย่างมากมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคาทอลิก

ทางพระสังฆราชผู้ปกครองศาสนจักรยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ของบรรดาผู้ปกครองให้ปกปักษ์รักษาความเชื่อและศีลธรรมคาทอลิก และนโยบายนี้ก็เป็นที่ขุ่นเคืองต่อชาวคริสต์คนอื่นๆที่ไม่ใช่คาทอลิกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในปี 1844 สภาพระสังฆราชได้ออกประกาศให้ใช้พระคัมภีร์เวอร์ชั่นคาทอลิกตามโรงเรียนต่างๆ ในฟิลาเดเฟีย จนทำให้การการประท้วงใหญ่และความรุนแรงประทุขึ้น ปัจจัยอย่างหนึ่งคือเรื่องของผู้อพยพชาวไอริชที่ทะลักเข้ามาในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมากในขณะนั้น เพื่อพวกเขาได้เข้าไปเรียนในโรงเรียนคาทอลิก ทำให้คนอื่นๆมองว่าโรงเรียนคาทอลิกไม่เป็นแบบชาวอเมริกันแท้ๆ เป็นโรงเรียนที่ทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างอเมริกันชน ในการประชุมสมัชชาพระสังฆราชแห่งบัลติมอลครั้งที่ 1 ในปี 1852 ได้ย้ำเตือนหน้าที่ของผู้พ่อแม่เด็กว่า พวกเขาเป็น “ผู้แทนของพระเจ้า” ที่จะคอยดูแลสอดส่องความเชื่อและศีลธรรมของลูกๆ ของตน เพื่อพวกเขาจะได้ไม่หลงผิดไป ตามคำสอนของทฤษฎีผิดๆ กลายเป็นคนไม่มีศาสนา บรรดาพระสังฆราชยังคงออกเอกสารอื่นๆอีกเพื่อย้ำเตือนและประการจุดยืนของพระศาสนจักรในเรื่องนี้ว่า ควรหลีกเลี่ยงที่จะส่งบรรดาเด็กๆไปเรียนโรงเรียนอื่นๆที่ไม่ใช่คาทอลิก และให้พวกเขาคอยสนับสนุนโรงเรียนคาทอลิกให้มากยิ่งๆขึ้น

ในระหว่างสมัชชาของสภาพระสังฆราชแห่งบัลติมอลครั้งที่ 3 ในปี 1884 พระศาสนจักรตกอยู่ท่ามกลางกระแสแรงกดดันที่กล่าวหาว่าโรงเรียนคาทอลิกไม่เป็นไปตาม “โรงเรียนแห่งชาติ” และ “ไม่เป็นแบบอเมริกัน” ทางสมาชิกสภาสหรัฐได้มีความพยายามที่จะตัดงบประมาณโรงเรียนคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนของวัด (parish school) และโรงเรียนเอกชนต่างๆ ในปี 1883 พระอัครสังฆราชแห่งบัลติมอล เจมส์ กิบบอน ท่านได้ตอบโต้โดยอ้างถึงอนาคตของชาวคาทอลิกในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า “พระศาสนจักรที่อเมริกจะดีหรือล้มได้ ก็เพราะโรงเรียนคาทอลิกนี้” ท่านยังได้กล่าวถึงเหตุและผลการตั้งโรงเรียนคาทอลิกว่า “เพื่อความดีของส่วนรวม” (common good) และเพื่อความดีงามของประเทศชาติ โรงเรียนของรัฐหลายๆโรงมีความบกพร่องและบางทีมีระบบการเรียนการสอนที่ชั่วร้าย นำพาซึ่งปัญหาสังคมและอาชญากรรมในอนาคต

ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาผู้ปกครองของพระศาสนจักรคาทอลิกยังให้วิสัยทรรศน์ถึง “การศึกษาที่แท้จริง” (true education) ว่ามีสิ่งค้ำจุนอยู่ 3 ประการคือ “บ้าน วัด และโรงเรียน” ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่ว่า โรงเรียนต้องเน้นทางโลกแต่อย่างเดียว (secular school) และตัดขาดมิติทางศาสนา เพราะโรงเรียนไม่ใช่แค่ธุรกิจทำงาน หากแต่ต้องรักษาความจริงและศีลธรรมให้กับผู้คน สอนศาสนาให้กับบรรดายุวชน ดังนั้นพระศาสนจักรต้องตั้งโรงเรียนคาทอลิกขึ้นเพื่อการนี้ แต่ในความเป็นจริงไม่ใช่ว่าครอบครัวคาทอลิกทุกครอบครัวจะสามารถส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนคาทอลิกได้ ทางสภาพระสังฆราชถึงได้ออกคำแถลงการณ์เพื่อผ่อนผันดังนี้

  “บรรดาผู้ปกครองคาทอลิกมีข้อผู้มัดที่จะต้องส่งบุตรของตนไปเรียนในโรงเรียนของวัด ยกเว้นว่า บุตรของท่านได้รับการศึกษาทางศาสนาอย่างเพียงพอ เขาได้เรียน (คำสอน) ที่โรงเรียนคาทอลิกหรือเรียนที่บ้านก็ดี หรือถ้ามีเหตุผลอย่างเพียงพอ เขาต้องได้รับการอนุมัติจากพระสังฆราช เพื่อปกป้องและคุ้มกันความเชื่อ เขาจึงสามารถไปเรียนที่โรงเรียนอื่นๆได้ เป็นพระสังฆราชที่จะอนุมัติได้ว่าโรงเรียนใดเป็นโรงเรียนคาทอลิก”

แม้การประกาศอย่างประณีประนอมนี้ จะช่วยแก้ไขปัญญาเรื่องครอบครัวคาทอลิกที่ไม่สามารถส่งบุตรหลานไปเรียนที่โรงเรียนคาทอลิกได้ แต่สภาพระสังฆราชก็คงดำเนินการเคลื่อนไหวตอบโต้ข้อกำหนดต่างๆทางภาครัฐ ตัวอย่างเช่น มีการออกกฎหมายเบนเน็ทต์ (Brennet Law) ที่วิสคอนซิลในปี 1899 โดยมีข้อบังคับสองประการคือ หนึ่ง ให้ใช้แค่ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ สอง บังคับให้ทุกคนเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ พระศาสนจักรท้องถิ่นถึงรณรงค์ต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ว่า “ไม่มีความจำเป็น เป็นปฎิปักษ์ และไร้ซึ่งความยุติธรรม” เป็นการจำกัดสิทธิของบรรดาผู้ปกครองชาวคาทอลิก พวกเขายังประกาศอีกว่า “ทางเราไม่เคยได้รับเงินอุดหนุนจากภาครัฐแต่อย่างใด ทำไมต้องมาบังคับพวกเรา”

ที่พระศาสนจักรประเทศไอแลนด์ก็มีเหตุการณ์ที่คล้ายๆกับสหรัฐอเมริกา พวกเขาขอร้องทางภาครัฐให้ช่วยให้เงินสนับสนุนงานด้านโรงเรียนของพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชน แต่สภาพระสังฆราชแห่งไอแลนด์ก็ไม่ได้ประนามโรงเรียนอื่นๆที่ไม่ใช่โรงเรียนคาทอลิกแต่อย่างใด ซึ่งทางพระศาสนจักรอเมริกาก็ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ แต่ทางพระศาสนจักรไอแลนด์ก็ตอบโต้ว่า ทางฝั่งโน้นเป็น “อเมริกัน คัลเจอแคมฟ์” (American Kulturkampf) ในปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนคาทอลิก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พวกเขาดันทุลังสร้างปัญหาเอง

เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นทางโรมก็เริ่มมีการเคลื่อนไหว ในปี 1826 พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้ส่งตัวแทนของท่าน คือพระอัครสังฆราชฟรังเซสโก ซาโตลลี (Archbishop Francesco Satolli) มาพบกับบรรดาพระสังฆราชที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อหวังที่จะคลี่คลายความตรึงเครียดที่เกิดขึ้น โดยให้วิสัยทัศน์ว่า พระศาสนจักรควรที่จะดำเนินงานด้านโรงเรียนและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้น บรรดาผู้ปกครองควรได้รับการสนับสนุนให้ส่งลูกหลานไปเรียนที่โรงเรียนคาทอลิก แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็สามารถไปเรียนโรงเรียนอื่นๆได้ หากความเชื่อและศีลธรรมของพวกเขาไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด พระศสนจักรก็ควรใส่ใจพวกเด็กๆเหล่านั้นเช่นเดียวกับเด็กๆที่เรียนในโรงเรียนคาทอลิกของทางวัด

ดูเหมือนว่าผู้แทนทางโรมจะมีท่าทีประณีประนอมในเรื่องนี้ แต่ลึกๆแล้ว พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 เล็งเห็นปัญหาว่าโรงเรียนคาทอลิกยังไม่เพียงพอต่อเด็กในครอบครัวคาทอลิกทุกคน จึงมีความเป็นไปได้ที่ต้องแยกแยะระหว่าง “การศึกษาสาธารณะ” และ “การศึกษาแบบคาทอลิก” สำหรับโรงเรียนคาทอลิกแล้ว ”มีพันธกิจนำพาความรอดของพระศาสนจักร” (salutary direction of the Church) ส่วนที่ตรงข้ามกับความรอดคือ บ่อเกิดของความชั่วร้ายในโลกนี้ ด้วยเหตุนี้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องใส่ใจต่อเด็กๆว่าพวกเขาได้รับการฝึกฤทธิ์กุศลได้อย่างไรในการศึกษา แม้ทางรัฐและพระศาสนจักรจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน คำสอนของพระศาสนจักรยังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่าการเรียนการสอนศาสตร์อื่นๆ ซึ่งเป็นกฎธรรมชาติ ในสมณลิขิตในปี 1890 พระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ได้ย้ำถึงการศึกษาทุกอย่างให้อยู่ใต้ร่มเงาของคำสอนของพระศาสนาจักรโดยละม่อม

อ้างอิง

Hunt, Thomas C. "Selected Episcopal and Papal Documents on Catholic Education (1792-1962)." In At the Heart of the Church: Selected Documents of Catholic Education, edited by Ronald J. Nuzzi and Thomas C. Hunt United States: Alliance for Catholic Education Press, 2011.

G., Neil, and McCluskey. Catholic Education in America.  New York: Teacher College Press, 1964.

 

บทที่ 11 การปกป้องโรงเรียนคาทอลิก ของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศอเมริกา

◀️ บทที่ 12 กฎหมายพระศาสนจักร ปี 1917

บทที่ 15 ภาพรวมของการศึกษาคาทอลิก จากมุมมองทางประวัติศาสตร์ (The Recollection of Catholic Education) ▶️

Written by 
บาทหลวง วรวุฒิ สารพันธุ์ C.Ss.R. JCL


Catholic Priest & Canonist
Author & Administrator
Faith4Thai.com

*juris canonici licentiatus
หรือ JCL เป็นปริญญาทางกฏหมายพระศาสนจักร

Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
FaceBook: Worawut Saraphan
Iine ID: mcssrsp


book


วิวัฒนาการของ "การศึกษาคาทอลิก"

ในประวัติศาสตร์โลก

บทนำ

“เป็นที่ประจักษ์ในสังคมไทยว่าโรงเรียนคาทอลิกตัวแทนภาพลักษณ์ของงานอภิบาลและการแพร่ธรรมในประเทศไทย ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะนำเสนอมุมมองของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก (Catholic education and formation) ที่ไม่ใช่แค่ในโรงเรียนคาทอลิก การศึกษาคาทอลิกมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจจากชีวิตและงานขององค์พระเยซูเจ้าและสืบต่อทางบรรดาอัครสาวกและปิตาจารย์ พันธกิจนี้ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านกระแสธารแห่งกาลเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคแห่งความรุ่งเรือง หรือความท้าทายและความยากลำบาก จวบจนปัจจุบันพระศาสนจักรยังคงเห็นคุณค่าของงานด้านการศึกษาและอบรมคาทอลิก ทั้งนี้เพื่อจะเป็นเครื่องมือที่นำทุกผู้คนสู่หนทางแห่งความรอดพ้นแห่งวิญญาณ”